Участник:Cityslicker/Sandbox — различия между версиями
(новый черновик) |
м (→ใครอยากเป็นเศรษฐี / Khrai Yak Pen Setthi) |
||
Строка 74: | Строка 74: | ||
{{Конец спойлера}} | {{Конец спойлера}} | ||
+ | |||
+ | ---- | ||
+ | |||
='''4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม / 4 vs 4 Family Game''' = | ='''4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม / 4 vs 4 Family Game''' = | ||
Версия 17:35, 1 июня 2019
ใครอยากเป็นเศรษฐี / Khrai Yak Pen Setthi
Шаблон:กล่องข้อมูล รายการโทรทัศน์
ใครอยากเป็นเศรษฐี เป็นรายการเกมโชว์ตอบปัญหาที่มีความจำเป็นเงิน เรามี 15 ข้อ สำหรับจำนวนเงินรางวัลสูงสุด สูง 1 ล้านบาท ส่วนในประเทศอื่นมักมีเงินรางวัลสูงสุดเป็นหน่วยล้านเช่นกัน เพราะสำนวนว่า คุณยืนยันคำตอบไหม จำนวนเงินในต่างประเทศต่าง ๆ อาจแตกต่างกันไปตามค่าเงินของประเทศนั้น มีรูปแบบต้นฉบับมาจากรายการ Who Wants to be A Millionaire? ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ Sony Pictures Television ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 21.20 - 22.20 น.ทาง พีพีทีวี ผลิตโดย บริษัท มีมิติ จำกัด ผู้ดำเนินรายการ ธีรนัยน์ ณ หนองคาย (น้ำมนต์)
เงินรางวัล
คำถาม | เงินรางวัล |
1 | 100 |
2 | 200 |
3 | 300 |
4 | 500 |
5 | 1,000 |
6 | 2,000 |
7 | 4,000 |
8 | 8,000 |
9 | 16,000 |
10 | 32,000 |
11 | 64,000 |
12 | 125,000 |
13 | 250,000 |
14 | 500,000 |
15 | 1,000,000 |
ใช้ตัวช่วย
- 50:50
- โทรหาเพื่อน (Phone-A-Friends)
- ถามคนดู (Ask the Audience)
หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ในอดีต หมวดหมู่:เกมโชว์ไทย หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ไทย หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่อง 3 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่องไอทีวี หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่องทีไอทีวี หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2543 [[หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์==ใครอยากเป็นเศรษฐี
4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม / 4 vs 4 Family Game
Шаблон:ลิงก์ไปภาษาอื่น Шаблон:กล่องข้อมูล รายการโทรทัศน์ 4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม (Шаблон:Lang-en) หรือมักเรียกโดยย่อว่า 4 ต่อ 4 เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์แนวทายปัญหา (ควิซโชว์) โดยมีรูปแบบรายการต้นฉบับมาจากรายการ "แฟมิลีฟิวด์" (Family Feud) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2544 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และต่อมาได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559 ทางสถานีโทรทัศน์ช่องวัน
ประวัติ
4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์แนวทายปัญหา (ควิซโชว์) โดยมีผู้เข้าแข่งขันทีมละ 4 คน จำนวน 2 ทีม (หรือจำนวน 3 ทีม ในรายการ "4 ต่อ 4 เซเลบริตี้") มาแข่งขันตอบคำถามจาก "ผลสำรวจ" โดยทางบริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด (ภายหลังได้เปลี่ยนบริษัทผู้ผลิตมาเป็นบริษัท ซีเนริโอ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในสังกัดเดียวกัน) ซื้อลิขสิทธิ์รายการนี้จากบริษัท FremantleMedia ของเอเชีย นำมาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย[1] เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2544 จนถึงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ดำเนินรายการโดย กนิษฐ์ สารสิน[1]
ในช่วงปี 2546 ได้เพิ่ม 4 ต่อ 4 ซันเดย์[2] ซึ่งเป็นช่วงเฉพาะที่จัดในช่วงทุกวันอาทิตย์ และ 4 ต่อ 4 ฮอลิเดย์ ที่ออกอากาศในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์บางวันตามโอกาส โดยกฏกติกาในเกมเหมือนทุก 4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม ทุกประการ
ในปี พ.ศ. 2559 ทางสถานีโทรทัศน์ช่องวันได้นำรายการนี้กลับมาทำใหม่อีกครั้ง ในสังกัดบริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด[3] ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559 และเพิ่มรายการ 4 ต่อ 4 เซเลบริตี้ โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559 และได้ย้ายวัน-เวลาออกอากาศใหม่เป็นทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.00 น. เริ่มวันที่ 3 กรกฎาคม - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ดำเนินรายการโดย กิตติ เชี่ยววงศ์กุล[1][4] ในช่วงปี 2560 ได้เพิ่ม 4 ต่อ 4 ฟรายเดย์ ซึ่งเป็นช่วงเฉพาะที่จัดในช่วงทุกวันศุกร์ โดยกฏกติกาในเกมเหมือนทุก 4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม ทุกประการ
รูปแบบและกติกาของรายการ
4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม
รูปแบบหลักของรายการคือจะมีผู้เข้าแข่งขันจำนวน 2 ทีม มีจำนวนสมาชิกในทีม ทีมละ 4 คน มาแข่งขันตอบคำถามในรูปแบบผลสำรวจ โดยมีข้อมูลจากการสำรวจบุคคลทั่วไปจำนวน 100 คน
ทั้งนี้เมื่อทีมใดทำคะแนนได้ถึง 200 คะแนนก่อน ทีมนั้นจะเป็นแชมป์ในรายการ และได้เข้ารอบไปเล่นในรอบโบนัสเพื่อสะสมเงินรางวัล[1]
รอบตอบคำถาม
ในแต่ละรอบจะส่งสมาชิกในทีม ทีมละ 1 คนเรียงจากหัวแถวไปท้ายแถวเพื่อมาตอบคำถามเพื่อเลือกทีมที่จะได้เล่นก่อน โดยจะมีคำตอบของคำถามตั้งแต่ 3 - 8 คำตอบ (ขึ้นอยู่กับผลสำรวจของแต่ละคำถาม) เมื่อพิธีกรอ่านคำถาม สมาชิกที่ถูกส่งมาของแต่ละทีมจะต้องแย่งกันกดปุ่ม คนที่กดปุ่มจนหลอดไฟติดได้ก่อนจะมีสิทธิ์ตอบคำถามก่อนและต้องตอบภายใน 3 วินาที ฝ่ายที่ตอบคำตอบที่มีอันดับสูงกว่า หรือตอบคำตอบอันดับที่ 1 ได้ จะมีสิทธิ์เลือกว่าจะเล่นเองหรือโยนให้อีกทีมเล่น (ในกรณีที่สมาชิกที่กดปุ่มของทั้งสองทีมตอบคำตอบที่ไม่มีในผลสำรวจ ผู้เล่นลำดับต่อไปในทีมจะได้สิทธิ์ตอบคำถาม เพื่อดูว่าฝ่ายไหนจะมีสิทธิ์เลือกเล่นหรือโยน)
ทีมที่ได้เล่นจะต้องตอบคำตอบที่มีอยู่ในผลสำรวจบนหน้าจอให้หมดเพื่อคว้าคะแนนทั้งหมดโดยห้ามปรึกษากันในระหว่างการเล่น ถ้าตอบสิ่งที่ไม่มีในผลสำรวจหรือตอบไม่ทันภายในเวลา 3 วินาที จะถือว่าตอบพลาด 1 ครั้ง หากตอบพลาดครั้งที่ 2 ทีมฝ่ายตรงข้ามจะสามารถปรึกษากันได้ และถ้าหากตอบพลาดครั้งที่ 3 ทีมฝ่ายตรงข้ามจะมีสิทธิ์ขโมยคะแนนในรอบนั้น โดยสมาชิกในทีมทุกคนจะได้เสนอคำตอบของตัวเองคนละ 1 คำตอบ แต่ผู้ที่มีสิทธิ์ตอบคือหัวหน้าทีม ซึ่งมีสิทธิ์จะเชื่อคำตอบของเพื่อนในทีมหรือคิดคำตอบเองก็ได้ (ปัจจุบันพิธีกรจะให้หัวหน้าทีมตอบทันที โดยไม่ให้ลูกทีมเสนอคำตอบ) ถ้าคำตอบที่ตอบมานั้นมีอยู่ในผลสำรวจจะสามารถขโมยคะแนนที่อีกทีมทำไว้มาได้ทันที แต่ถ้าคำตอบนั้นไม่มีอยู่ในผลสำรวจ คะแนนจะกลับเป็นของทีมที่ตอบไปตอนแรก
ลักษณะในการให้คะแนนของแต่ละรอบคือในรอบที่ 1 และรอบที่ 2 จะมีคะแนนปกติ (คำตอบของผลสำรวจ 1 คน = 1 คะแนน) รอบที่ 3 จะเป็นรอบคูณสอง และรอบที่ 4 เป็นรอบคูณสาม (ในรอบคูณสาม หากฝ่ายที่ได้เล่นตอบพลาดแม้เพียงครั้งเดียว ทีมฝ่ายตรงข้ามจะมีสิทธิ์ขโมยคะแนนทันที) เมื่อทีมใดมีคะแนนรวมถึง 200 คะแนนก่อน ทีมนั้นจะเป็นแชมป์ในรายการ และได้เข้าไปสะสมเงินรางวัลในรอบโบนัส
ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2560 ได้มีการปรับเปลี่ยนกติกาเพิ่มอีกเล็กน้อยคือ ใน 3 รอบแรกจะมีคะแนนปกติ (คำตอบของผลสำรวจ 1 คน = 1 คะแนน) รอบที่ 4 จะเป็นรอบคูณสอง และรอบที่ 5 เป็นรอบคูณสาม (ในรอบคูณสาม หากฝ่ายที่ได้เล่นตอบพลาดแม้เพียงครั้งเดียว ทีมฝ่ายตรงข้ามจะมีสิทธิ์ขโมยคะแนนทันที) เมื่อทีมใดมีคะแนนรวมถึง 300 คะแนนก่อน ทีมนั้นจะเป็นแชมป์ในรายการ และได้เข้าไปสะสมเงินรางวัลในรอบโบนัส (ซึ่งกติกาและเป้าหมาย 300 คะแนนนี้ก็จะคล้ายคลึงกับ รายการ แฟมิลีฟิวด์ หรือ 4 ต่อ 4 แฟมีลี่เกม เวอร์ชัน สหรัฐอเมริกา อีกด้วย)
และเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีการย้ายเวลาพร้อมกับเพิ่มช่วงใหม่ของรายการในชื่อช่วงนี้ว่า “เงินขวัญถุง” ซึ่งจะเริ่มก่อนเข้าสู่การแข่งขันในรอบที่ 4 (รอบคะแนน X2) โดยทั้ง 2 ทีมจะต้องส่งตัวแทนออกมาทีมละ 1 คน ออกมาแข่งกันกดปุ่มสัญญาณไฟเพื่อหาคำตอบอันดับที่ 1 ของคำถามข้อนั้นๆ (ตัวแทนที่ส่งมาในแต่ละข้อจะต้องไม่ซ้ำกัน และไม่จำเป็นต้องส่งในตำแหน่งยืนเดียวกัน) ทีมใดที่ทำได้ 2 ข้อก่อน ทีมนั้นจะได้รับเงินขวัญถุงมูลค่า 5,000 บาทไปทันที
รอบโบนัส
ทีมที่เป็นแชมป์จะเลือกสมาชิกในทีม 2 คน โดยสมาชิกคนหนึ่งจะต้องอยู่ในห้องเก็บเสียง แล้วให้สมาชิกอีกคนได้ตอบคำถาม 5 ข้อ โดยมีเวลาในการตอบคำถาม 15 วินาที ผู้แข่งขันสามารถ "ข้าม" คำถามได้ โดยคำถามข้อที่ข้ามไปแล้วจะวนกลับมาถามใหม่เมื่อถามคำถามหมดทุกข้อไปแล้วแต่เวลายังไม่หมด เมื่อสมาชิกคนแรกเล่นเกมเสร็จแล้ว สมาชิกคนที่ 2 จะต้องมาตอบคำถามเดียวกับสมาชิกคนแรก โดยจะมีเวลาในการตอบคำถาม 20 วินาที แต่ไม่สามารถตอบคำตอบที่ซ้ำกับคนแรกได้ (หากตอบซ้ำจะมีเสียงออด พร้อมทั้งสมาชิกคนนั้นจะต้องตอบคำถามนั้นใหม่) ทั้งนี้พิธีกรจะเฉลยข้อคำตอบ 2 อันดับแรก
อนึ่ง การออกอากาศในระยะหลังได้เพิ่มเวลาในการตอบคำถามรอบแรกเป็น 20 วินาที และในรอบที่ 2 เป็น 25 วินาที
โดยการคิดเงินรางวัลนั้น ถ้าสมาชิกทั้งสองคนทำคะแนนได้รวมกัน 200 คะแนนขึ้นไป จะได้เงินรางวัลโบนัสจำนวน 100,000 บาท คูณกับจำนวนสมัยที่ทำโบนัสแตกที่มากที่สุด แต่ถ้าทำคะแนนไม่ถึง 200 คะแนน ก็จะไม่ได้รับเงินรางวัล (เช่น เป็นแชมป์สมัยแรก ทำโบนัสแตก รับเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาท แล้วไปทำโบนัสแตกอีกครั้งในสมัยที่ 5 เงินรางวัลสะสมของทีมจะกลายเป็น 500,000 บาท เป็นต้น) และจะสามารถสะสมเงินรางวัลได้เรื่อยๆ จนกว่าจะถูกโค่นแชมป์
ต่อมา ทางรายการได้ปรับกติกาเพียงเล็กน้อย โดยทีมแชมป์จะสามารถเป็นแชมป์ได้สูงสุด 5 สมัย ถ้าหากทำคะแนนครบ 200 คะแนน จะได้รับเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาท สำหรับโบนัสรอบนั้นๆ แต่ถ้าหากทำคะแนนได้ไม่ครบ 200 คะแนน จะได้รับเงินรางวัลจำนวน 100 บาท คูณกับจำนวนแต้มที่ทำได้ (เช่น ทำคะแนนได้ 150 คะแนน จะได้เงินรางวัลเป็นจำนวน 150 x 100 = 15,000 บาท เป็นต้น)
ต่อมา การออกอากาศภายในปี พ.ศ. 2559 ทีมแชมป์จะสามารถเป็นแชมป์ได้สูงสุด 5 สมัย ถ้าหากทำคะแนนครบ 200 คะแนน จะได้รับเงินรางวัลจำนวน 50,000 บาทสำหรับโบนัสรอบนั้น ๆ แต่ถ้าหากทำคะแนนได้ไม่ครบ 200 คะแนน จะได้รับเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาทสำหรับโบนัสรอบนี้ไป และเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2560 ได้มีการเพิ่มความพิเศษคือ หากสามารถทำคะแนนครบ 200 คะแนนในการเป็นแชมป์สมัยที่ 5 ได้ จะได้รับเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาทในสมัยนั้นทันที ซึ่งทำให้เงินรางวัลรวมเมื่อทำโบนัสแตกทั้ง 5 สมัยมีมูลค่าสูงสุดถึง 300,000 บาท (ปัจจุบันเงินรางวัลสูงสุดที่แชมป์มีสิทธิ์จะคว้าได้คือ 325,000 บาท โดยแบ่งออกเป็น เงินโบนัส 300,000 บาท + เงินขวัญถุง 25,000 บาท)
4 ต่อ 4 ฟรายเดย์ (ชื่อก่อน: 4 ต่อ 4 เซเลบริตี้)
thumb|150px|4 ต่อ 4 เซเลบริตี้ thumb|150px|4 ต่อ 4 ฟรายเดย์ Шаблон:บทความหลัก 4 ต่อ 4 ฟรายเดย์ (Шаблон:Lang-en) หรือเดิมเดิมชื่อ 4 ต่อ 4 เซเลบริตี้ (Шаблон:Lang-en) เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์แนวทายปัญหา (ควิซโชว์) โดยมีรูปแบบรายการต้นฉบับมาจากรายการ "แฟมิลีฟิวด์" (Family Feud) ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นรายการย่อยของ 4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 กมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 จนถึงปัจจุบันสนับสนุนโดย แค็ตตาล็อกฟรายเดย์ ภายใต้การควบคุมของ บริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยเริ่มออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 19.10 - 19.55 น. และตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 รายการจะย้ายไปออกอากาศในเวลาใหม่ 17.20 - 18.20 น. และตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560 รายการได้ย้ายไปอยู่เวลาใหม่เป็น 17.00 - 18.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ช่องวัน thumb|right|200px|แค็ตตาล็อกฟรายเดย์ (ผู้สนับสนุนรายการ 4 ต่อ 4 ฟรายเดย์) วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 แค็ตตาล็อก ฟรายเดย์ ซึ่งเป็นแค็ตตาล็อกของ บริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือในนามบริษัท มิสทิน (บริษัทขายเครื่องสำอางค์ขายตรงอันดับ 1 ของประเทศไทย) ได้เสนอตอนแรกของชื่อรายการใหม่ว่า 4 ต่อ 4 ฟรายเดย์ จนกระทั่งวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561 ได้นำเทปเก่ามารีรันและกำหนดออกอากาศเป็นเทปสุดท้าย
4 ต่อ 4 ออลสตาร์แชริตี้
thumb|150px|4 ต่อ 4 ออลสตาร์แชริตี้ Шаблон:บทความหลัก 4 ต่อ 4 ออลสตาร์แชริตี้ (Шаблон:Lang-en) รูปแบบหลักของรายการได้ทำการประยุกต์มาจากรายการ4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม เกือบทุกประการ ที่ต่างกันคือจะมีผู้เข้าแข่งขันจำนวน 3 ทีม มีจำนวนสมาชิกในทีม ทีมละ 4 คน มาแข่งขันตอบคำถามในรูปแบบผลสำรวจ โดยมีข้อมูลจากการสำรวจบุคคลทั่วไปจำนวน 100 คน ซึ่งจะทำการแข่งขัน 2 ครั้ง โดยในครั้งแรกจะต้องทำการแข่งขันระหว่างทีมที่มีสมาชิกเป็นผู้เข้าแข่งขันที่เป็นบุคคลทั่วไปที่สมัครเข้ามาจำนวน 2 ทีม ส่วนในการแข่งขันครั้งที่ 2 ทีมที่ชนะในการแข่งขันครั้งแรกจะต้องทำการแข่งขันกับทีมที่ 3 ชึ่งมีสมาชิกในทีมเป็นดารา, นักแสดง หรือนักร้อง ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2559 ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบรายการเป็นการแข่งขันของทีมดาราทั้ง 2 ทีม ทั้งนี้เมื่อทีมใดทำคะแนนได้ถึง 300 คะแนนก่อน ทีมนั้นจะเป็นผู้ชนะในรายการ และได้เข้ารอบไปเล่นในรอบโบนัสเพื่อชิงเงินรางวัล[1]
รอบตอบคำถาม
ในการแข่งขันในแต่ละรอบจะใช้กติกาของรายการ 4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม เกือบทุกประการ ที่ต่างกันคือเมื่อทีมใดมีคะแนนรวมถึง 200 คะแนนก่อน ทีมนั้นจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขันครั้งแรก และได้เข้าไปแข่งขันกับทีมดาราในการแข่งขันครั้งที่ 2 โดยใช้กติกาเดิม ทีมใดมีคะแนนรวมถึง 200 คะแนนก่อนจะได้เข้าไปสะสมเงินรางวัลในรอบโบนัส
ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2559 มีการเปลี่ยนแปลงกติกาในการแข่งขันเล็กน้อยคือ การแข่งขัน 3 รอบแรกจะมีคะแนนปกติ (คำตอบของผลสำรวจ 1 คน = 1 คะแนน) รอบที่ 4 จะเป็นรอบคูณสอง และรอบที่ 5 เป็นรอบคูณสาม (ในรอบคูณสาม หากฝ่ายที่ได้เล่นตอบพลาดแม้เพียงครั้งเดียว ทีมฝ่ายตรงข้ามจะมีสิทธิ์ขโมยคะแนนทันที) ทีมใดมีคะแนนรวมถึง 300 คะแนนก่อนจะได้เข้าไปสะสมเงินรางวัลในรอบโบนัส
รอบโบนัส
ทีมที่เป็นผู้ชนะในการแข่งขันครั้งที่สองจะเลือกสมาชิกในทีม 2 คน โดยในรอบนี้จะใช้กติกาในรอบโบนัสของรายการ "4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม" ทุกประการ โดยหากทีมที่เป็นผู้ชนะทำคะแนนครบ 200 คะแนน จะได้รับเงินรางวัลจำนวน 50,000 บาท และถ้าแชมป์ครองตำแหน่งจนถึงสมัยที่ 5 (สมัยสุดท้าย) ถ้าทำคะแนนครบ 200 คะแนน จะได้รับเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาท แต่ถ้าหากทำคะแนนได้ไม่ครบ 200 คะแนน จะได้รับเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท และ 20,000 บาท ในสมัยที่ 5 และสำหรับ 4 ต่อ 4 เซเลบริตี้จะไม่มีการครอบครองแชมป์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Шаблон:เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ หมวดหมู่:เกมโชว์ไทย หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ไทย หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ในอดีต หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่อง 3 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ช่องวัน หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2544 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2549 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ไทยที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2559 หมวดหมู่:เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจากต่างประเทศ
Ошибка цитирования Для существующего тега <ref>
не найдено соответствующего тега <references/>